ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตที่ใครๆ ก็ไม่อยากเป็น

office syndrome

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

เป็นอาการที่พบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน โดยเฉพาะคนที่ทำงานในออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็ก บริษัทใหญ่ ห้างร้าน สำนักงาน หรือแม้แต่คนที่ทำงานอยู่ที่บ้านก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน

สาเหตุหลักเกิดจากการทำงานในภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น

  • การทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบท
  • การนั่งทำงานในอิริยาบทที่ไม่เหมาะสม เช่นนั่งหลังค่อม
  • การจัดโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการหยิบ-จับ สิ่งของ
  • การนั่งเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม เช่นไม่มีพนักพิงรองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การใช้แป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ ทำให้มีการกระดกข้อมือ ขึ้น-ลง ซ้ำๆ กัน
  • ปัญหาเกี่ยวกับความเครียด ก็ส่งผลถึงภาวะดังกล่าวโดยพบสูงถึงร้อยละ 80

จากผลการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรป พบว่ากลุ่มคนทำงานที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม มากที่สุด คือกลุ่มคนทำงานที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี ซึ่งมีอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55

สำหรับในประเทศไทย เคยมีการสำรวจพนักงานที่ทำงานในสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง จำนวน 400 คน พบว่า ร้อยละ 60 มีภาวะ ออฟฟิศซินโดรม

 ออฟฟิศซินโดรม

อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดบริเวณคอ ศรีษะ ไหล่ บ่า แขน มีอาการชาบริเวณนิ้ว และ ข้อมือ ในรายที่มีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว จะทำให้มีอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น

วิธีป้องกัน โรคออฟฟิศซินโดรม

เริ่มจากการจัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ โดยจัดให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่ง และวางสิ่งของอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะแทน เพื่อความเป็นระเบียบ และสะดวกในการหยิบ จับ สิ่งของ

ปรับให้โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่พอดีกับข้อศอก เพื่อให้ใช้คีย์บอร์ดได้ถนัดมากขึ้น ตัวแป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือเพื่อไม่ให้เกิดการกะดกข้อมือซ้ำๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้ว และ ข้อมือ

เก้าอี้สำหรับนั่งทำงานควรเป็นแบบปรับขึ้น-ลงได้ และมีพนักพิงที่สามารถรองรับศรีษะได้ด้วย

จอคอมพิวเตอร์ ควรเลิอกจอแบบ LCD หรือ จอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่า ลักษณะโค้งมนของจอแบบ CRT จะทำให้ต้องเพ่งสายตาและทำให้ปวดศรีษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD

ควรปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยปรับความสว่างให้มากกว่าความสว่างของสภาพแวดล้อมประมาณสามเท่า และควรปรับสีของจอภาพให้ดูสบายตา เนื่องจากผลการวิจัยพบว่าตัวอักษรสีเข้มบนพื้นจอสีอ่อนจะทำให้รู้สึกสบายตา คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่า หากได้รับรังสีจากจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งไม่เป็นความจริง เนื่องจากปริมาณรังสีที่ออกมามีจำนวนน้อยมาก เพียง 1 ใน 10 Safety Dose ซึ่งไม่เป็น อันตรายแต่อย่างใด

ปัญหาที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ คือปัญหาเกี่ยวกับสายตา เช่น ตาแห้ง ระคายเคืองตา น้ำตาไหล ตามัว ปรับภาพได้ช้าลงซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีการกระพริบตาน้อยลง และหนังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้ง ทำให้น้ำตามีการระเหยมาก จนเกิดอาการระคายเคืองตา และ ตาแห้ง

นอกจากนี้การเพ่งสายตาไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ต้องกลอกตาไปมาอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก ทำให้เกิดอาการปวดตาในที่สุด ควรพักสายตาเป็นระยะ ทุก 20 นาที หลับตา ทุก 1 ชั่วโมง ลุกเดินเพื่อพักสายตา และ ที่สำคัญควรจัดจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าสายตา ประมาณ 15 องศา เพื่อช่วยลดอาการปวดตาและ ปวดคอ

พนักงานรับโทรศัพท์ หรือ Operator ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน เนื่องจากต้องคอยรับโทรศัพท์ตลอดเวลา ควรหยุด พักบ้าง หรือ หันมาใช้ เฮดโฟนแทน สิ่งสำคัญคนทำงานต้องตระหนักถึงภัยจากภาวะนี้ด้วยการฝึกอิริยาบถการนั่งทำงานให้เหมาะสม เช่นเมื่อนั่งหลังค่อมต้องปรับท่านั่งใหม่ และควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกออกไปเดินยืดเส้นยืดสายทุกๆครึ่งชั่วโมง รวมทั้งควรหัดออกกำลังกายคลายเส้นบ้าง จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึงจนเกินไป

 ออฟฟิศซินโดรม

9 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม

1. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่าง เพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติบ้าง ดีกว่าต้องนั่งอยู่ใต้แสงจากหลอดไฟ
ตลอดทั้งวัน

2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบาย อย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมาก และตอนพักกลางวัน

3. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่ง
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง และความเครียด

4. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อนหล้าจากการต้องจ้องหน้าจอ
คอมพิวเตอร์นานๆ

5. ถ้าออฟฟิศคุณมีขนาดเล็ก ลองลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศลงบ้าง บางวันคุณอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มี
ลักษณะบางเบา แล้วใช้พัดลมมาเปิดแทน ก็จะรู้สึกเย็นสบายได้ และประหยัดไฟได้ด้วย

6. ควรห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงานโดยเด็ดขาด

7.ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความชื้นที่เสียไปกับ
เครื่องปรับอากาศ

8.หมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานของคุณเอง ด้วยแอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค

9. ถ้าคุณเป็นคนติดคอมพิวเตอร์หรือมีงานด่วนที่จะต้องสะสางชนิดที่ไม่สามารถหยุดพักได้ ก็พยายามเตือนตัวเองให้
เงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา

ลองกานอยด์

สารสกัดจากเมล็ดลำไย สุดยอดงานวิจัยล่าสุด โดย ศ. ดร. อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ และทีมงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การันตีด้วยรางวัลงานวิจัยดีเด่น โดย ARDA องค์การมหาชน
ปราศจากสเตียรอยด์ ผ่านการตรวจสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 091-1421184 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

ลองกานอยด์.com

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เวบไซต์ divland.com และ พ.ต.ท.สุรศักดิ์ จิระพรชัย (นักกายภาพบำบัด)