1. ลดน้ำหนัก เพราะน้ำหนักที่เกินจะไปเพิ่มแรงกดข้อเข่าถึง 4 เท่าเวลาเดิน ซึ่งจะเป็นสาเหตุของข้อเข่าเสื่อม และข้อสะโพกเสื่อม การลดน้ำหนักจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดอาการปวดข้อเสื่อม
2. ทานผักผลไม้ทั้งผล หรือน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกาก) รวมกันให้ได้วันละ 5 ส่วนบริโภคขึ้นไป (1 ส่วน = ฝ่ามือคนกิน หนาประมาณข้อปลายนิ้วก้อย) สารต้านอนุมูลอิสระในผักผลไม้จะช่วยชะลอข้อเสื่อม ลดอาการข้ออักเสบรูมาตอยด์ และ เกาต์
3. เพิ่มผักใบเขียวเข้ม เช่น บรอคโคลี, ผักโขม , กะหล่ำปลี ฯลฯ และแอปเปิ้ลสีแดง (ทานเปลือกด้วย) เพราะอาหารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และอาจทำให้อาการปวดข้อ-ข้ออักเสบดีขึ้น
4. ทานปลาทะเลที่ไม่ผ่านกระบวนการทอด โดยอาจจะนำไปต้ม ลวก นึ่ง หรือ ทานน้ำมันปลา 2-4 ครั้ง/สัปดาห์
5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะช่วงตื่นนอนเช้า ให้รีบบ้วนปาก แล้วดื่มน้ำตามทันทีหลังตื่นนอน เพราะช่วงตลอดการนอนหลับ กระดูกอ่อนในข้อไม่มีเลือดไปเลี้ยงโดยตรง อาศัยการดูดซับออกซิเจน น้ำ และสารอาหารจากน้ำไขข้อ โดยกระบวนการ “บีบ-คลาย (squeeze off-and-on)” คล้ายๆ กับฟองน้ำล้างจานที่บีบน้ำ-ซับน้ำได้เวลามีแรงกด-ลดแรงกด
6. อย่านั่งหรือยืนนิ่งๆ นานเกิน 1-2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ข้อเสื่อมได้ เนื่องจากข้อที่อยู่นิ่งจะขาดอาหารและออกซิเจนทำให้มีแต่น้ำเลี้ยงเก่าไม่มีน้ำเลี้ยงใหม่ไปทดแทน ควรจะลุกเดินไปมาเป็นพักๆ
7. ลดการใช้น้ำมันพืช จำพวกน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เพราะน้ำมันกลุ่มนี้ไขมันอิ่มตัวสูง
8. ทำการจดบันทึกรายการอาหารในช่วง 2 สัปดาห์ ว่าทานอะไรไปบ้าง เมื่อได้รายการที่สงสัยว่า จะเป็นอาหารแสลงโรค ให้ลองทานข้าวกับผัก แล้วเพิ่มรายการอาหาร “ต้องสงสัย” ไปทีละอย่าง ถ้าทดลอง 3 รอบแล้วใช่แน่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น (แต่ละคนจะแพ้อาหารแต่ชนิดไม่เหมือนกัน)
9.การประคบร้อนจะช่วยลดอาการปวดข้อ หรืออากาปวดเรื้อรังได้ โดยประคบกระเป๋าน้ำร้อน 10-15 นาที วันละ 2 ครั้ง
10. ออกกำลังแผนตะวันออก เช่น มวยจีน ไทเกก ไทชิ โยคะ หรือ รำกระบองชีวจิต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์